สื่อท้องถิ่นของญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังเสนอโครงการใหม่เพื่อต่อสู้กับอัตราการเกิดในประเทศที่กำลังลดลงอย่างมาก โดยโครงการใหม่นี้เป็นการเสนอให้ครอบครัวที่มีลูก 3 คนขึ้นไป และไม่จำกัดเพดานรายได้ได้รับสิทธิในการยกเว้นการจ่ายค่าเล่าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยระดับต้น วิทยาลัยเทคนิค และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ
ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของโครงการใหม่นี้มีขึ้นเพื่อให้ครอบครัวในญี่ปุ่นมีลูกได้มากขึ้น และง่ายขึ้น ตลอดจนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูก ๆ
“ไฮเปอร์ลูปวัน” บริษัทขนส่งผ่านท่อสุญญากาศ ประกาศปิดตัวแล้ว
บราซิลผุดไอเดียใช้ห่านลาดตระเวนเรือนจำ ป้องกันนักโทษหลบหนี
ญี่ปุ่นประกาศ คำว่า "ภาษี" คันจิประจำปี 2023
แม้ญี่ปุ่นจะมีนโยบายเรียนฟรีในระดับชั้นอนุบาล ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับมัธยมต้น แต่ว่าในระดับที่สูงกว่านี้อย่างในระดับอุดมศึกษา ซึ่งต้องใช้เวลาเล่าเรียนหลายปี และต้องมีการจ่ายค่าเทอม ตลอดจนมีค่าใช้จ่ายมหาศาล
ขณะที่มาตรการใหม่นี้จะรวบรวมความคิดริเริ่มไว้ในแพ็คเก็จที่เรียกว่า นโยบายยุทธศาสตร์อนาคตของเด็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อรับมือกับอัตราการเกิดที่ลดลง และคาดการณ์ว่า จะมีการตัดสินใจในการประชุมคณะรัฐมนตรีภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ และอาจเริ่มบังคับใช้ได้ในปีงบประมาณ 2025
นี่ถือเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดในชุดมาตรการสร้างแรงจูงใจให้คนในญี่ปุ่นมีลูกหลายคน รวมถึงช่วยเหลือครอบครัวที่มีลูกเยอะ อย่าง โชทาโร อิทายะ คุณพ่อลูกสาม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ก็เป็นหนึ่งในนั้น และหากมาตรการดังกล่าวบังคับใช้ครอบครัวของชาวญี่ปุ่นรายนี้จะได้สิทธิ์ที่ลูกๆ ของเขาได้จะรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาฟรี ซึ่งตรงนี้ช่วยคลายความกังวลเรื่องค่าเล่าเรียนลูกทั้ง 3 คนของเขาไปได้คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้
"ผมกังวลเกี่ยวกับค่าเล่าเรียนของลูกทั้ง 3 คน ของผม ดังนั้นผมคิดว่านโยบายนี้ดีมากๆ อย่างไรก็ตามนโยบายนี้จำกัดผู้ที่ได้รับประโยชน์ ผมคิดว่าครอบครัวขนาดเล็กก็ควรได้รับด้วย" อิทายะกล่าว
ตามข้อมูลของทางการญี่ปุ่น ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกในญี่ปุ่น รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ชมรมสังคมและกีฬา โรงเรียนกวดวิชา และค่าใช้จ่ายในด้านการศึกษา รวมถึงค่าใช้จ่าอื่นๆ อาจมากกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเกือบ 7 ล้านบาท และค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเกือบ 175,000 บาทต่อปี
ขณะที่ปัจจุบันมีเด็กน้อยกว่าหนึ่งในสี่ในญี่ปุ่นอยู่ในครอบครัวที่มีขนาดใหญ่พอที่จะมีคุณสมบัติเข้าโครงการนี้ เพราะครอบครัวคนญี่ปุ่นไม่มีเวลา และเงินที่ดูแลลูกได้มากกว่า 2 คน
ส่วนจุดอ่อนของโครงการนี้เมื่อลูกคนแรกสำเร็จการศึกษา หรือเริ่มทำงานหลังจากอายุ 22 ปี อีกสองคนก็จะไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับโครงการดังกล่าวแล้ว เช่นเดียวกับเด็กที่ทำ gap year หรือเว้นช่วงระยะเวลาก่อนเข้ามหาวิทยาลัย หรือหลังจากที่เข้ามหาวิทยาลัย อาจขาดคุณสมบัติในการเข้าโครงการนี้ไป
นอกจากนี้ยังมีบางส่วนกังวลถึงความยั่งยืนของการบังคับใช้นโยบายนี้ นี่จึงทำให้ผู้เชี่ยวชาญตั้งคำถามว่า โครงการใหม่นี้จะใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใด
ศาสตราจารย์ ฮารุกะ ชิบาตะ อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยเกียวโต กล่าวว่า "ผมยังได้ยินข้อกังวลว่า หากผู้คนมีลูกในตอนนี้ โครงการนี้อาจยังไม่เกิดขึ้น เมื่อลูกๆของพวกเขาถึงเวลาเข้ามหาวิทยาลัยในอีก 20 ปี พวกเขากลัวว่านโยบายอาจไม่สอดคล้องกัน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาล และพวกเขาจะมีลูกมากขึ้น โดยไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่สัญญาไว้"
ทั้งนี้หลายคนเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมญี่ปุ่น ที่จะช่วยให้คนทำงานสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระมากขึ้น และใช้ชีวิตครอบครัวที่ใหญ่ขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ
สำหรับญี่ปุ่นเผชิญกับอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดเผยตัวเลขอัตราการเกิดของประชากรในญี่ปุ่น ซึ่งรวบรวมตัวเลขทั้งคนญี่ปุ่น และคนต่างชาติที่พำนักอยู่ที่นั่น ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงมิถุนายนของปีนี้ โดยพบว่ามีประชากรเพิ่มขึ้นทั้งหมด 371,052 คน ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 3.6 %
อัตราการเกิดของผู้คนในญี่ปุ่นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดกาณ์ได้ว่า ตลอดทั้งปีนี้จะมีเด็กเกิดใหม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลวางเอาไว้คือ 800,000 คน และคาดว่าจะต่ำกว่าการเกิดในปีที่แล้ว ที่มีทั้งหมด 799,728 คน ซึ่งถือเป็นอัตราการเกิดต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งนี้จากการวิจัย ของมหาวิทยาลัย Meiji Gakuin พบว่า ประชากรของญี่ปุ่นอาจลดลงมากถึง 20 % ภายในปี 2050
เคลียร์ดราม่าเติมน้ำมันไม่เต็มลิตร ส่งดำเนินคดีเติมเกิน-เติมขาด
เจ้ากรมการข่าวทหาร หมดสติในรถกลางถนนวิภา จนท.ทุบกระจกช่วยชีวิต
บุกช่วยเสือ 15 ตัว จากสวนสัตว์เอกชนปิดตัวหลังโควิด ปล่อยเสือป่วย-ผอมโซ